วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กริช

ความหมายและประเภทของอาวุธโบราณ

อาวุธ หมายถึง เครื่องประหารที่ใช้ในการทำร้ายหรือป้องกันต่อสู้ ประเทศไทยนั้นได้มีการเริ่มใช้อาวุธมาแล้วประมาณ 30,000 ปี อาวุธในสมัยก่อนนั้นทำจากหินและกระดูกสัตว์ ต่อมาเปลี่ยนเป็นถลุงโลหะจากแร่ธาตุต่างๆ เช่นทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เหล็ก เพื่อนำมาประดิษฐ์เป็นอาวุธ

อาวุธของไทย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. อาวุธของพระมหากษัตริย์ จะมีความสวยงาม ด้วยฝีมือการประดิษฐ์ของช่าง มีการประดับโลหะและอัญมณีมีค่าต่างๆ ตัวอย่างอาวุธของพระมหากษัตริย์ เช่น พระแสงดาบ พระขรรค์ พระแสงง้าว พระแสงดาบคาบค่าย

  2. อาวุธของสามัญชน ใช้ทั่วไปสำหรับขุนนางและทหารธรรมดา

หน้าไม้ เป็นอาวุธที่ใช้ยิงในระยะไกลๆ ประกอบด้วยคันไม้ไผ่ปลายเรียว ตรงกลางค้นหน้าไม้มีแท่งงาสานรัดด้วยหวาย เพื่อใช้เป็นที่วางกระสุน ส่วนปลาย 2 ข้างของคันหน้าไม้มีรอยบากสำหรับผูกสายน้าว


กระบี่ เป็นอาวุธที่ใช้ฟันหรือแทง ตัวกระบี่ทำด้วยเหล็กรูปเรียวโค้ง ปลายแหลม ด้ามทำด้วยไม้ ส่วนปลายด้ามโค้ง


ดาบ เป็นอาวุธที่ใช้ฟันหรือแทง ด้ามดาบตกแต่งลายดุนเป็นลายบัวและลายขัด ปลายด้ามเป็นหัวเม็ดทำด้วยเงิน ส่วนฝักดาบ ตกแต่งลายเครือเถา ถักเชือกรัดโดยรอบเพื่อใช้เป็นห่วงสำหรับสะพาย


ง้าว เป็นอาวุธที่ใช้ฟัน ด้ามทำด้วยไม้ คอง้าวหุ้มโลหะ ตกแต่งเป็นลายวงแหวนซ้อนหลายชั้นใบง้าวมีปลอกไม้สวมอยู่ ทาสีชาด โคนปลอกหุ้มทองแดง


พร้าแป๊ะก๊ก เป็นอาวุธที่มีดขนาดใหญ่ ส่วนใบเรียวยาว มีคมสองด้าน ปลายแหลม ใช้สำหรับฟันหรือแทง ใบมีดสวมติดกับด้ามไม้ กลึงเป็นลายวงแหวนซ้อนกัน


กริช เป็นอาวุธที่ใช้แทงในระยะประชิดตัว ลักษณะใบกริช ทำด้วยเหล็กเนื้อดี หล่อเป็นลายคล้ายลายไม้ มีรูปเรียวแหลม คดโค้ง ส่วนคมมี 2 ด้าน โคนด้ามตกแต่งด้วยโลหะชุบทอง มีลวดลายสวยงาม ด้ามกริชมีการแกะสลักให้สวยงาม สวมอยู่กับปลอกทรงยาวที่มีขนาดจากโคนปลอกและปลายปลอกเท่ากันโดยตลอด โคนปลอกจะมีไม้ขวางเพื่อรองรับโคนใบกริชเมื่อสวม


ทวิวุธ เป็นอาวุธที่ใช้แทงหรือพุ่ง ส่วนคมมีลักษณะหยัก เรียวแหลมคล้ายกริช สวมติดอยู่กับส่วนคันไม้ มีการตกแต่งลวดลายให้สวยงาม



ประวัติศาสตร์คำบอกเล่า ตำนาน "กริช"


กริช “ปานังสาราห์” หรือกริชสกุลปาตานี ที่มาและความสำคัญ โดย อับดุลเราะห์มาน บินฮายีอับดุลเลาะห์ กริช “ปานังสาราห์” หรือกริชสกุลปาตานีเป็นกริชที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ เช่น ตากริช ฝักกริชและด้ามกริช จะมีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างไปจากกริชของช่างสกุลอื่นๆ โดยเฉพาะด้ามซึ่งไม่เหมือนใครในภูมิภาคนี้ ด้ามได้ออกแบบเป็นรูปหัวนกในเทพนิยาย ซึ่งช่างผู้ทำได้แกะสลักไว้อย่างพิสดารมีความละเอียดอ่อน ความสวยงามและยังแฝงไว้ซึ่งความดุดัน ทรงอำนาจ ลึกลับและน่ากลัวเอาไว้


นายมาหามะเย็งอาบีดีน พุดารอ ลูกศิษย์ของ นายตีมะลี อะตะบู ช่างกริชสกุลปาตานีหรือที่เรียกว่ากริช “รามันห์” ที่บ้านตะโละหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เป็นช่างทำกริชที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทยและในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลยเซีย อินโดนีเซีย

กริชเข้ามาครั้งแรกโดยการนำเข้ามาของ “โต๊ะปานังสาราห์” มาจากชวา ประเทศอินโดนีเชีย เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้าน “โกตาบารูรือแม” หรือปัจจุบันคือตำบลยะต๊ะ ในสมัยก่อนแทบนี้เป็นเมือง “รามันห์” ปัจจุบันจึงเรียกกริชสกุลนี้ว่ากริช “รามันห์” เพราะอยู่ในเมือง ”รามันห์” โต๊ะปานังสาราห์ก็ได้นำวิชาความรู้ที่มีการถ่ายถอดให้กับคนในพื้นที่ก็คือวิชาการตีกริช “ปานังสาราห์” เป็นกริชที่มีความสวยงามมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นต่างจากกริชสกุลอื่นๆ เพราะตัวกริชมีความโดดเด่นทางด้านศิลปะที่อ่อนช้อย และยังแฝงด้วยความดุดัน กริชปานังสาราห์แบ่งออกเป็น 3 ระดับแบ่งการใช้งานออกเป็น 3 ชนชั้นใหญ่ๆคือ

  • ชนชั้นกษัตริย์ จะใช้กริชที่เรียกว่า “ดือรอ”
  • ขุนนางหรือแม่ทัพ จะใช้กริชที่เรียกว่า “ตือมืองง”
  • ผู้มีอิทธิพลหรือนักเลงจะใช้กริชที่เรียกว่า “บอตอกาลอ”

กริชนั้นสามรถใช้เป็นอาวุธได้ในทุกส่วน เช่น ตรงส่วนที่เป็นปลอกกริชนั้นใช้เป็นกระบองหรือเป็นโล้ได้ ตรงหัวของปลอกจะมีลักษณะเป็นไม้ง่าม เพราะทั้งสองด้านจะมีลักษณะคล้ายใบโกสนแหลมยื่นออกมาด้านบน เรียกว่า “บูรงมังฆะ” อยู่ระหว่างหัวกริชหรือ “บูรงปือกากา” ใช้บิดตรงแขนศัตรูทำให้เส้นเอ็นขาดได้ ตรงส่วนปลายของปลอกกริชนั้นใช้แทงตรงเข้าที่ลิ้นปี้ทำให้ศัตรูหมดสติได้ ส่วนใบมีดก็ใช้แทงศัตรู แต่ความเชื่อของคนสมัยก่อนจะถือว่าถ้าไม่จำเป็นจะไม่นำใบมีดกริชออกจากปลอกเด็ดขาด เพราะว่ากริชนั้นเป็นอาวุธที่ร้ายแรงในสมัยก่อน คนสมัยก่อนมีความเชื่อว่าเมื่อใบมีดออกจากปลอก แล้วจะได้กลิ่นคาวเลือด ทำให้การดึงกริชออกจากปลอกในแต่ละครั้งนั้นจะทำมีการนองเลือดเกิดขึ้น




กริช

กริช เป็นคำในภาษาชวา - มลายู ส่วนในภาษาถิ่นยะลาเรียกว่า "กรือเระฮ์" เนื่องจากกริชมีความเกี่ยวข้องและเป็นที่นิยมของชาวชวา เป็นอาวุธประจำชาติของชวา ในสมัยโบราณที่เชื่อในเทพเจ้า ลักษณะของด้ามกริช มักจะทำเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยายของชวา และไม่ขัดกับหลักทางศาสนาอิสลาม

กริช นั้นเป็นทั้งอาวุธและวัตถุมงคลที่บ่งบอกถึงเหตุดีร้ายในชีวิตได้ ซึ่งมีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ และความงามทางศิลปะ กริชเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นชาย ฐานะทางสังคม ยศถาบรรดาศักดิ์และตระกูลของผู้เป็นเจ้าของ กริชเป็นอาวุธที่นิยมใช้กันแพร่หลาย ปัจจุบันกริชนั้นยังถือว่าเป็นที่มีความสำคัญต่อกษัตริย์ในคาบสมุทรมลายูซึ่งต้องใช้ในพิธีสำคัญๆ เช่น ในมาเลเซีย บรูไน และในประเทศไทยเอง ว่าเป็นอาวุธที่ควบคู่สังคมและความเชื่อในพิธีกรรม มีการทำกริชขึ้นเพื่อนการค้า มีการตกแต่งให้เป็นของที่ระลึกที่มีคุณค่าทางจิตใจและความงามทางศิลปะตามแบบฉบับของท้องถิ่น และยังเป็นการอนุรักษ์หัตกรรมของบรรพบุรุษให้คงอยู่ต่อไป

ที่อินโอนีเซียนั้นจะมีการใช้ดาบเป็นอาวุธแต่ไม่มีการใช้กริชเป็นอาวุธ จนได้มีการพบรูปของเทพเจ้าภีมะนักรบของชวาที่กำลังใช้มือเปล่าจับเหล็กร้อนตีเป็นรูปกริชเป็นครั้งแรกที่ผนังโบสถ์ suku ของชวากลางศตวรรษที่ 14 ดังนั้นกริชจึงเป็นอาวุธของอินโดนีเซีย โดยในช่วงหลังๆความเชื่อเกี่ยวกับการใช้กริชแบบฮินดูเริ่มน้อยลง แต่ความเชื่อแบบอิสลามเพิ่มมากขึ้น ซึ้งการใช้กริชนั้นต้องอยู่ในหลักและแนวคิดของศาสนาอิสลามอย่าเคร่งครัด

กริชเล่มหนึ่งอาจจะต้องสรรหาเหล็กถึง 20 ชนิดมาหลอมรวมกันด้วยกระบวนการและพิธีกรรมที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามแบบความเชื่อ และกระกวนการทางไสยศาสตร์ กริชหนึ่งเล่มจะมีความสัมพันธ์กับปรากฎการธรรมชาติ อำนาจ ชีวิตและเลือดเนื้อของเจ้าของกริช กริชจะมีความแหลมคมเหมือนเขี้ยวเสือ และความคดเหมือนเปลวไฟที่แสดงถึงความกล้าหาญและความมีอำนาจ กริชนั้นถือเป็นอาวุธมงคล ป้องกันภัยอันนตรายและสิ่งอัปมงคล เป็นสิ่งนำโชควาสนา รูปแบบลักษณะที่ประกอบขึ้นเป็นกริชหนึ่งเล่มนั้น ได้จำแนกกลุ่มกริชอาศัย ด้วยรูปแบบของด้าม


  1. กริชแบบกลุ่มบาหลีและมดูรา ลักษณะคือมีคมกริชลื่นเป็นมันวาววับ เนื้อเหล็กเรียบไม่มีเส้น กริชแบบบาหลีนิยมทำด้ามเป็นรูปคน ส่วนมดูรานิยมทำด้ามด้วยงาช้างหรือไม้ประดับลาย


  2. กริชแบบชวา ส่วนด้ามนิยมทำเป็นรูปนามธรรม ดูไม่ค่อยรู้เรื่องหรือไม่ชัดเจน


  3. กริชแบบคาบสมุทรส่วนเหนือ ด้ามจะมีปลอกโลหะหุ้ม ด้ามจะมีลักษณะดูเหมือนผู้ชายที่กำลังนั่งกอดอก ไหล่ตกด้วอาการหนาวสั่นไปทั้งตัว


  4. กริชแบบบูกิส พบทั่วไปในมาเลเซีย ด้ามแกะสลักอย่างสายงาม


  5. กริชแบบสุมาตรา ใบกริชคมยาวเรียบแคบคล้ายกระปี่ ตรงกลางมีสันนูนขึ้นมา ด้ามกริชมักทำด้วยเขาสัตว์และงาช้าง


  6. กริชแบบปัตตานี ด้ามทำเป็นรูปนกพังกะ ใบกริชยาวกว่าชนิดอื่นๆ


  7. กริชแบบซุนดัง มีลักษณะที่ดัดแปลงมาจากดาบ

ส่วนสำคัญของกริช



  • ตัวกริช หรือเรียกว่า ตากริช หรือใบกริช ส่วนนี้เป็นโลหะที่มีส่วนผสมอย่าพิศดาร ตามความเชื่อของช่างหรือผู้สั่งทำกริชตกลงกัน ตัวกริชมีลักษณะโคนกว้าง ส่วนปลายเรียวแหลม มีคมทั้งสองด้าน ตัวกริชมีโครงสร้าง 2 แบบ คือ
  1. ตัวกริชแบบใบเรือ เป็นรูปยาวตรง ส่วนปลายเรียวและบาง ซึ้งอาจจะแหลมหรือมนก็ได้ แบบนี้จะคล้ายๆรูปใบปรือ ปรือ คือ พืชน้ำชนิดหนึ่ง มีลักษณะใบยาวและเรียว กริชใบปรือบางเล่มจะมีร่องลึก ยาวขนานไปกับคมกริช

  2. ตัวกริชแบบคด มีลักษณะคดไปมา และค่อยๆเรียวยาวลงคล้ายกับเปลวเพลิง การทำกริชให้คดนั้นมีจุดประสงค์ คือ เมื่อแทงจะทำให้บาดแผลเปิดกว้างจนสามารถแทงผ่านกระดูกได้

  • หัวกริช หรือด้ามกริช นิยมทำเป็นหัวคน หัวสัตว์ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนเป็นรูปทรงเรขาคณิต ที่ไม่ผิดตามหลักศาสนาอิสลาม หัวกิชจะแกะจากวัสดุต่างๆ เช่น ไม้เนื้อแข็ง งาช้าง เขาสัตว์ หรือหล่อด้วยโลหะ

  • ปลอกสวมกั่น เป็นส่วนที่ติดกับหัวกริช เพื่อให้หัวกริชยึดติดกับกั่นได้อย่างมั่นคงและไม่ให้หัวกริชแตกร้าวได้ง่าย นิยมทำด้วยโลหะ ทองเหลือง เงิน หรือทองคำ และมีการแกะสลักลวดลายที่ประณีต

  • ฝักกริช เป็นที่เก็บคมกริชเพื่อความสะดวกในการพกพา มักจะทำด้วยโลหะชนิดเดียวกับโลหะที่ทำปลอกสวมกั่น และแกะสลักด้วยความประณีตสวยงาม

อ้างอิง

perth. ปี ๒๕๕๒. กริช (ออนไลน์) แหล่งที่มา

http://www.ramanvoc.moe.go.th/web_Mk/index1.html ( ๒๓ ก.ค. ๕๒ )